ค้นหาบล็อกนี้

Verbs

ถาม : Verb คืออะไร ? แบ่งออกเป็นกี้ชนิด อะไรบ้าง ?
ตอบ : Verb แปลว่า "กริยา" ได้แก่ "คำที่ใช้แสดงถึงการกระทำ หรือการถูกกระทำของคำที่เป็นประธาน หรือเป็นคำสอดแทรกเข้ามาทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นก็ได้ เพื่อบอกถึงมาลา(mood)วาจก(voice)และ(Tense)" ในภาษาอังกฤษแบ่ง Verb ออกเป็น 5 ชนิดด้วยกัน คือ >>
   1. Transitive Verb              = สกรรมกริยา
   2. Intransitive Verb            = อกรรมกริยา
   3. Finite Verb                    = กริยาแท้
   4. Non-Finite Verb             = กริยาไม่แท้
   5. Auxiliary Verb               = กริยานุเคราะห์ (กริยาช่วย)

Transitive Verb
ถาม : Transitive Verb คืออะไร ? ได้แก่ Verb เช่นไร ?
ตอบ : Transitive Verb แปลว่า "สกรรมกริยา หมายถึงกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ หรือมีกรรมมาขยายตามหลังเสียก่อน แล้วเนื้อความของกริยาตัวนั้นจึงจะฟังเข้สใจกันได้" สกรรกริยาได้แก่ต่อไปนี้ >>
 give, buy, bring, write, speak, hit, kick, see, look, at, order, open, close, wash, clean, etc.
เช่น
   My mother bought meat and eggs yesterday.
   คุณแม่ของฉันซื้อเนื้อและไข่มาเมื่อวานนี้
   Today my mother is going to buy.....at the market.
   วันนี้คุณแม่ของฉันจะซื้อ......ที่ตลาด
ประโยคแรก กริยา bought ได้เนื้อความสมบูรณ์ ฟังเข้าใจกันได้เพราะมีกรรมคือ meat และ eggs มารองรับใจความจึงชัดเจนขึ้น
ประโยคหลัง กริยา buy ฟังแล้วสงสัย ไม่ทราบว่า ซื้ออะไรเพราะไม่มีกรรมมารองรับขยายตามหลังเนื้อความไม่สมบุรณ์ เพราะฉะนั้นสกรรมกริยาจึงต้องให้มีกรรมมารับตลอดไป ใจความของประโยคจึงจะฟังกันรู้เรื่อง(เว้นแต่ผู้พูดและผู้ฟังรู้กันมาก่อนแล้วว่า คุยกันเรื่องอะไร สกรรมกริยาไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้)
ถาม : คำอะไรบ้างที่จะมาเป็นกรรม(Object)ของสกรรมกริยาได้ จงบอกมาพร้อมยกตัวอย่างประกอยด้วย?
ตอบ : คำที่จะนำมาใช้ทำหน้าที่เป็นกรรมของสกรรมกริยา (Object of a transitive Verb) ได้นั้น ได้แก่คำต่อไปนี้คือ >>
      1) นามทุกชนิด (All kinds of Nouns) เช่น
          Our country needs the growth and development.
          ประเทศของเราต้องการความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนา
          (growth and development เป็นกรรมของ needs)
      2) สรรพนาม (Pronoun) เช่น
          I told him that he could pass his examination.
          ผมบอกเขาว่า เขาสอบไล่ได้
          (him เป็น Pronoun มาทำหน้าที่เป็นกรรมของ told)
      3) กริยาสภาวมาลา (ได้แก่ Infinitive) เช่น
          These students want to continue their studies in a foreign country.
          นักศึกษาเหล่านี้ต้องการศึกษาต่อในต่างประเทศ
          (to continue เป็นกริยาสภาวมาลา ทำหน้าที่เป็นกรรมของ want)
      4) คำกริยาที่เติม ing (Gerund) แล้วนำมาใช้อย่างนาม เช่น
          Ever since he has got bad health, he stops smoking cigarettes
          ตั้งแต่เขาไม่สบายนี้ เขาเลิกสูบบุหรี่แล้ว
         (smoking เป็น Gerund ทำหน้าที่เป็นกรรมของ stops)
      5) วลีทุกชนิด (Phrases) เช่น
          She doesn't know what to do for you.
          หล่อนไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้คุณ
          (what to do เป็นวลี ทำหน้าที่เป็นกรรมของ know)
      6) อนุประโยค (Subordinate Clause) เช่น
          I know what he is going to do there.
          ผมรู้ว่าเขาจะไปทำอะไรให้คุณ
          (what he is going to do there เป็นอนุประโยคทำหน้่าที่เป็นกรรมของกริยา know)